Page 3 - คู่มือกฎหมายในงานข่าวและรายงาน ThaiPBS 1
P. 3

ค�านิยม


                   สื่อมวลชนต้องการเสรีภาพในการแสวงหาข้อมูลข่าวสาร
             ต้องการความเป็นอิสระในการเสนอข่าวสารโดยไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลใด ๆ
             รวมทั้งการวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์จะต้องอยู่บนพื้นฐานข้อมูล หลักฐาน
             ที่อ้างอิงได้  ทั้งนี้การใช้เสรีภาพแสวงหาข่าวสารก็ดี การรายงานข่าวสาร
             อย่างเป็นอิสระก็ดี การวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ก็ดี จะต้องมีความรับผิดชอบ
             ในสิ่งที่รายงานไปทั้งสิ้น ไม่มีข้อยกเว้น
                   ปกติแล้ว  การทำางานของบุคลากรสื่อมวลชนมีจริยธรรม
             เป็นตัวกำากับ เป็นกรอบของการทำางาน ที่เรียกกันว่า จรรยาวิชาชีพ
             ทุกคนจะต้องยึดหลักการเหล่านี้อย่างเคร่งครัด เพื่อความน่าเชื่อถือของ
             ข่าวสารที่รายงานออกไป
                   อย่างไรก็ดี ถึงแม้ผู้ปฏิบัติงานสื่อมวลชนจะทำางานอย่างเคร่งครัด
             ตามหลักจรรยาวิชาชีพแล้วก็ตาม แต่บางครั้งก็อาจจะไปมีผลกระทบ
             ต่อสิทธิส่วนบุคคล หรือหน่วยงาน องค์กร ที่มีกฎหมายกำากับไว้ ซึ่งหลายครั้ง
             การทำางานอย่างเป็นอิสระ ไม่ได้ทำาให้หลีกพ้นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
             ในบางครั้ง หรือการละเมิดกฎหมายอย่างไม่ตั้งใจ เพราะฉะนั้นจึงมี
             คำากล่าวว่า “เขียนข่าวอย่างไร ไม่ผิดกฎหมาย”

                   คู่มือการสื่อข่าว เขียนข่าวจึงมีส่วนช่วยนักข่าว หรือผู้มีอาชีพ
             จัดรายการข่าว  วิเคราะห์  วิจารณ์ได้อย่างไม่ผิดกฏหมาย  คู่มือที่
             คุณจักร์กฤษ เพิ่มพูล กรรมการนโยบายไทยพีบีเอส ซึ่งเป็นอดีตนักข่าว
             บรรณาธิการข่าวมืออาชีพอันยาวนาน  เคยเป็นประธานสภาการหนังสือพิมพ์
             แห่งชาติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น และอาจารย์พิเศษ
             หลายมหาวิทยาลัยได้จัดทำาขึ้น น่าจะเป็นคู่มือประจำากายของนักข่าว
             ไทยพีบีเอสและผู้ที่ทำางานด้านข่าวได้เป็นอย่างดียิ่ง ซึ่งก็หวังว่า คู่มือนี้
             จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบอาชีพสื่อมวลชนทั่วไปอีกด้วย

                                   รองศาสตราจารย์จุมพล  รอดคำาด  ี
                                  ประธานกรรมการนโยบายไทยพีบีเอส
   1   2   3   4   5   6   7   8