Page 106 - รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2562
P. 106
ทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รวมถึงเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่ทันสมัย จึงจำาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง
ใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่ผสมผสานกับเทคโนโลยีดิจิทัลในการสร้างบุคลากรให้มีความรู้
ความสามารถ เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพิ่มศักยภาพการให้บริการ และเพิ่มความสามารถในการ
แข่งขันให้องค์กรแห่งนี้อย่างยั่งยืน
ไทยพีบีเอสจึงมีนโยบายส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมมาอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2562
สำานักวิศวกรรมได้จัดทำาโครงการวิจัยและพัฒนางานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน 3 โครงการ
เพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ช่วยประหยัดงบประมาณ
และเพื่อทดแทนการนำาเข้าจากต่างประเทศ ดังนี้
1. โครงการจัดทำาระบบ Monitor and Control
สำานักวิศวกรรมได้ริเริ่มโครงการจัดทำาระบบ Monitor and Control เพื่อลดการพึ่งพาการดูแล
ระบบจากต่างประเทศ และสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมในองค์กร โดยระบบ Monitor and Control
ใช้ในการตรวจสอบการทำางานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ เช่น ตรวจสอบ
การทำางานของเครื่องส่งสัญญาณโทรทัศน์ ระบบไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เครื่องกำาเนิดไฟฟ้า
เครื่องปรับอากาศ เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม เป็นต้น ระบบ Monitor and Control ที่จัดซื้อ
จากต่างประเทศมีมูลค่าสูงถึง 835,987 บาท/ชุด แต่ไทยพีบีเอสสามารถผลิตเองได้ในราคา
23,758 บาท/ชุด ซึ่งต้องใช้ทั้งหมด 142 ชุด ทำาให้สามารถประหยัดงบประมาณได้ถึง 115,336,518 บาท
ในปัจจุบันสามารถผลิตและติดตั้งใช้งานจริงไปแล้ว จำานวน 22 สถานี กำาลังดำาเนินการผลิตเพิ่มอีก
120 ชุด
2. โครงการวิจัยและพัฒนาระบบ Satellite Redundant Switch
โครงการนี้เกิดขึ้นจากความพยายามแก้ไขปัญหาการทำางานที่พบว่า เมื่อเกิดความเสียหายกับ
อุปกรณ์ Satellite Redundant Switch เดิมที่ใช้งานอยู่ต้องส่งตัวแทนจำาหน่ายซ่อมแซม ซึ่งใช้เวลา
นานและมีราคาแพง ทั้ง ๆ ที่อุปกรณ์ส่วนใหญ่หาซื้อได้ภายในประเทศ ราคาถูก ซึ่งระบบ Satellite
Redundant Switch ที่จัดซื้อจากต่างประเทศมีมูลค่าสูงถึง 535,000 บาท/ชุด แต่ไทยพีบีเอสสามารถ
ผลิตเองได้ในราคา 40,000 บาท/ชุด ต้องใช้ทั้งหมด 35 ชุด ทำาให้สามารถประหยัดงบประมาณได้ถึง
17,325,000 บาท ปัจจุบันสามารถผลิตและติดตั้งใช้งานจริงไปครบแล้ว 35 สถานี
3. โครงการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ RF Power Probe
การพัฒนาอุปกรณ์ RF Power Probe เพื่อใช้ในการวัดสัญญาณดาวเทียม และเพื่อแก้ไขปัญหา
การขาดแคลนอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานจากการรอส่งซ่อมไปยังบริษัทตัวแทนจำาหน่ายต่างประเทศ
โดยใช้อุปกรณ์ที่สามารถหาซื้อได้ในประเทศเป็นหลักและมีราคาถูกกว่า เพราะอุปกรณ์ RF Probe
ที่จัดซื้อจากต่างประเทศมีมูลค่าสูงถึง 34,882 บาท/ตัว ไทยพีบีเอสสามารถผลิตเองได้ในราคา
1,500 บาท/ตัว ซึ่งต้องใช้ทั้งหมด 306 ตัว ทำาให้สามารถประหยัดงบประมาณได้ถึง 10,214,892 บาท
ปัจจุบันสามารถผลิตและติดตั้งใช้งานจริงไปแล้ว จำานวน 186 ตัว กำาลังดำาเนินการผลิตอีก 120 ตัว
การจัดทำานวัตกรรมทั้งสามโครงการได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความสามารถของพนักงาน
ของสำานักวิศวกรรมทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ที่ได้ระดมความคิดและร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนา
นวัตกรรมขึ้นจนเป็นผลสำาเร็จ อันจะนำามาซึ่งความสามารถในการพัฒนาการให้บริการและการแข่งขัน
ในการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล รวมทั้งการให้บริการสิ่งอำานวยความสะดวก
ด้านกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ได้เป็นอย่างดี
105
ไทยพีบีเอส องค์กรแห่งการเรียนรู้
63-01-101_094-109 TPBS_J-Uncoatedc dic2019.indd 105 6/17/20 1:08 AM