Page 118 - รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2562
P. 118
การด�าเนินงานของไทยพีบีเอสต่อข้อเสนอแนะของสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ
1. การพัฒนาคุณภาพการผลิตรายการ ข้อเสนอแนะของสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการถือเป็นข้อมูล
ที่ส�าคัญและมีประโยชน์ ซึ่งทางไทยพีบีเอสได้น�าไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพรายการที่มีอยู่ ตลอดจนเป็น
ข้อมูลในการวางแผนผลิตรายการใหม่ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน เช่น การปรับปรุง
ผังรายการช่วงเช้าที่ผสมผสานข่าวและรายการ การน�าเสนอรายการข่าวที่วิเคราะห์เจาะลึกอย่างเข้มข้น
การน�าข้อเสนอของสภาผู้ชมฯ ไปพัฒนาเนื้อหารายการ เช่น รายการรู้สู้ภัยพิบัติ รายการให้ความรู้ด้าน
สารเคมีการเกษตร รายการเกี่ยวกับการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและชุมชน ตลอดจนรายการที่เกี่ยวข้อง
กับนโยบายของรัฐ เช่น เรื่องนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษและรัฐสวัสดิการ รวมถึงขยายการเข้าถึง
ประโยชน์ของผู้ชมผู้ฟังรายการที่หลากหลาย เช่น มีรายการที่มีค�าบรรยายใต้ภาพ (Closed Caption :
CC) ล่ามภาษามือ และเสียงบรรยายแทนภาพ (Audio Description : AD) ส�าหรับคนพิการในจ�านวนชั่วโมง
ที่เกินกว่ามาตรฐานที่ กสทช. ก�าหนด การจัดท�าทีวีภาษามือทางสื่อออนไลน์ (Big Sign) เพื่อให้ผู้พิการ
ทางการได้ยินสามารถรับข้อมูลข่าวสารที่เที่ยงตรงและชัดเจนมากขึ้น รวมถึงการจัดท�ารายการเผยแพร่
ทางสื่อออนไลน์ของช่อง VIPA Channel เพื่อสื่อสารกับคนรุ่นใหม่ด้วย นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมส่งเสริม
ความรู้ โดยการน�าเนื้อหารายการไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แก่ครูวิทยาศาสตร์มากกว่า
600 คนทั่วประเทศ และใช้ในโครงการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น
2. การพัฒนายุทธศาสตร์และแผนงาน ไทยพีบีเอสได้น�าข้อมูลจากการรับฟังความคิดเห็นและ
ข้อเสนอแนะของสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการไปใช้ประโยชน์ในการก�าหนดยุทธศาสตร์และแผนบริหารกิจการ
ประจ�าปีของไทยพีบีเอสอย่างต่อเนื่องเสมอมา นอกจากนี้ยังใช้เป็นข้อมูลส�าคัญในการจัดท�าแผนการผลิต
รายการประจ�าปี และแผนงานการขับเคลื่อนวาระทางสังคมประจ�าปี พ.ศ.2563 ด้วย
3. การขับเคลื่อนการเรียนรู้และวาระทางสังคม ไทยพีบีเอสได้ร่วมมือกับสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ
และภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนการเรียนรู้และผลักดันวาระทางสังคมในรูปแบบเวทีรับฟังความคิดเห็นและ
เวทีสาธารณะอย่างต่อเนื่องที่ส�าคัญ ได้แก่ การรับฟังความคิดเห็นต่อนโยบายพรรคการเมือง การจัดการ
ปัญหาภัยพิบัติและขยะโดยชุมชน การจัดการปัญหาสารเคมีการเกษตร การปฏิรูปการศึกษา ผลกระทบ
นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ และรัฐสวัสดิการ พร้อมกันนี้ได้มีการสนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายใช้ C-Site
แอปพลิเคชันเป็นเครื่องมือการสื่อสารข้อมูลสถานการณ์ระหว่างกัน ซึ่งผลการด�าเนินงานท�าให้ประชาชน
ในพื้นที่มีความรู้และความเข้าใจประเด็นปัญหาต่าง ๆ ดีขึ้น และเกิดความร่วมมือเป็นเครือข่ายร่วมแก้ไข
ปัญหาและหาทางออกร่วมกัน
4. การส่งเสริมความรู้การเท่าทันสื่อ ไทยพีบีเอสให้ความส�าคัญกับการส่งเสริมความรู้เท่าทันสื่อ
โดยมีการผลิตข่าวและรายการให้ความรู้แก่ประชาชน ตัวอย่างเช่น รายการเปิดบ้าน มีการผลิตคลิปสั้น
ส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อที่รอบด้านจ�านวน 56 ตอน เผยแพร่ทางโทรทัศน์ (On Air) และทางออนไลน์
(Online) คลิปสั้นความรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลที่น�าเสนอทางสื่อออนไลน์ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม (On Ground)
ส่งเสริมความรู้ในรูปแบบประชุมสัมมนาวิชาการ เวทีรับฟังความคิดเห็น และการอบรมเยาวชน เป็นต้น
5. การสร้างหุ้นส่วนทางสังคม ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาไทยพีบีเอสร่วมกับภาคีเครือข่ายพัฒนา
นักข่าวพลเมืองเพื่อเป็นนักสื่อสารสาธารณะไปแล้วมากกว่า 5,000 คนกระจายอยู่ทั่วประเทศ และได้
พัฒนาศักยภาพเครือข่ายนักสื่อสารสาธารณะอย่างต่อเนื่อง สร้างช่องทางให้นักข่าวพลเมืองน�าเสนอ
เนื้อหารายการทางโทรทัศน์ในรายการ C-Site report และรายการภาคพลเมือง นอกเหนือจากการ
น�าเสนอข้อมูลข่าวสารทางช่องทางออนไลน์และพื้นที่กลางผ่าน C-Site แอปพลิเคชันที่มีอยู่
117
เสียงสะท้อนจากผู้ชมผู้ฟังรายการ
63-01-101_110-129 TPBS_J-Uncoatedc dic2019.indd 117 6/17/20 1:38 AM